เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week7

หน่วยการเรียนรู้ : ณ ริมธารแห่งกาลภพ 
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ วิเคราะห์และตีความหมายจากบทกลอน บทกวีที่ได้อ่าน รวมทั้งเข้าใจหลักการและสามารถแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑ )และซาบซึ้งในเรื่องที่แต่งได้
มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี


Week

Input

Process

Output

Outcome

๒๑ - ๒๕
 ก..
๒๕๕๘
โจทย์ :
 ณ ริมธารแห่งกาลภพ  :
อวตารฟากฝั่งกาล
สาระการเรียนรู้
การแต่งบทร้อยกรอง
- กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑
Key  Questions
- ทำไมสิ่งรายล้อมรอบตัวที่เป็นเกราะหุ้มและ กำหนดให้ชีวิตเป็นไปตั้งแต่แรกเกิด เริ่มจากความรัก ความคาดหวัง และความกลัว?
- ทำไมต้องการแต่งบทร้อยกรอง?


 เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
Round Rubin : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ณ ริมธารแห่งกาลภพ  :
อวตารฟากฝั่งกาล
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
พุธ
ชง
นักเรียนอ่าน ณ ริมธารแห่งกาลภพ  : อวตารฟากฝั่งกาลโดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
 วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
 ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจโดยการวาดภาพนามธรรมสื่อถึงเรื่องที่อ่าน
พฤหัสบดี
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ากวีนิพนธ์ที่อ่านกับบทร้อยกรองแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ชง
ครูแจกตัวอย่างบทร้อยกรอง(กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑ )ให้นักเรียนอ่าน
พฤหัสบดี
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนอ่านและร่วมกันวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของกลอนสุภาพและกาพย์ยานี๑๑
- นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องการแต่งกลอนสุภาพและกาพย์ยานี๑๑
ศุกร์
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ศึกษา
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกลอนสุภาพและกาพย์ยานี๑๑
 เชื่อม
นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแลกเปลี่ยนนำเสนองานเขียนของตนเอง
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การวาดภาพนามธรรมสื่อถึงเรื่องที่อ่าน
 ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กที่สรุปเรื่องต้องการแต่งบทร้อยกรอง
(กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑ )
- การสร้างชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการต้องการแต่งบทร้อยกรอง
(กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑ )
ความรู้ :วิเคราะห์และตีความหมายจากบทกลอน บทกวีที่ได้อ่าน รวมทั้งเข้าใจหลักการและสามารถแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑ )และซาบซึ้งในเรื่องที่แต่งได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ รวมทั้งคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจของตนเองได้
 ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับหลักการแต่งบทร้อยกรอง(กลอนสุภาพ กาพย์ยานี๑๑ )และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น











2 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ยังคงอ่านเรื่องณ ริมธารแห่งกาลภพ :จุติกาล ณ ริมธารฟากฝั่งพบ อยู่นะคะ บทกวีนี้ต้องค่อยๆอ่านและอธิบายพูดคุยไปพร้อมกับพี่ๆค่ะ ค่อนข้างใช้คำศัพท์ที่สวยและมีความหมายที่ลึกซึ้ง แต่พี่ๆก็สนใจเรื่องที่อ่านดีมาก แม้เวลาอ่านจะสงสัยทุกคำว่า คำนี้แปลว่าอะไร แม้แต่คำว่า มลาย พี่ๆยังบอกกับคุณครูว่า " คุณครูครับครูใหญ่ต้องเขียนผิดแน่เลย คำนี้จะต้องเขียนว่าม้าลายใช่ไหมครับ " คุณครูก็ต้องคอยอธิบายให้พี่ๆฟังค่ะว่าคำนี้หรือคำอื่นๆหมายความว่าอย่างไร
    จากนั้นคุณครูก็ให้พี่แต่ละคนสรุปบทกวีที่อ่านในรูปแบบภาพวาดค่ะ พี่ๆมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. นอกจากนี้พี่ๆยังได้อ่านบทนำ หากฉันตาย และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพวาดเช่นกันค่ะ

    ตอบลบ